ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อกุศลกรรมบถ ๑๐

อบายภูมิ ๔ หรือ ทุคติภูมิ ได้แก่ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ หรือ เดรัจฉานภูมิ เป็นภูมิที่ปราศจากความสุข เป็นภูมิที่ขวางต่อนิพพาน คือ ผู้ที่ตกไปในอบายภูมิแล้ว โอกาสที่จะทำคุณงามความดีไม่มีเลย เพราะต้องไปชดใช้บาปกรรม ที่เคยได้สร้างไว้

การทำบาป มี ๑๐ อย่าง เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ การทำบาปทางกาย ทางวาจา และทางใจ การทำบาปทางกาย เรียกว่า กายทุจริต มี ๓ คือ
๑. การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตให้ถึงแก่ความตาย
๒. การถือเอาของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน โดยที่เจ้าของเขามิได้อนุญาต
๓. การก้าวล่วงประเวณีในหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยาของตน

การทำบาปที่ครบองค์ของการทำบาป จะเป็นบาปที่มีกำลังแรง เมื่อตายลงก็จะนำเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ แต่การ ทำบาปที่ไม่ครบองค์ของการทำบาป จะเป็นบาปที่มีกำลังน้อย นำไปเกิดในอบายภูมิไม่ได้ แต่จะให้ผลในปวัตติกาล คือ ตามสนองผลให้ต้องได้รับความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เห็นในสิ่งที่ไม่ดี ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ความคับแค้นใจ ความผิดหวัง การพลัดพรากจากคนรักของรัก มีโรคภัยเบียดเบียน มีอายุสั้น เป็นต้น ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ในภพภูมินั้น ๆ (ปวัตติกาล)


๑. การฆ่าสัตว์ ๑. สัตว์มีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. คิดจะฆ่า
๔. พยายามฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายเพราะการฆ่า

๒. การลักทรัพย์ ๑. ของมีเจ้าของ
๒. รู้ว่ามีเจ้าของ
๓. คิดจะลักขโมยมาเป็นของตน
๔. พยายามที่จะลักขโมย
๕. ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น
๓.การประพฤติผิดในกาม
๑. หญิงหรือชายนั้นมีเจ้าของ
๒. คิดจะล่วงประเวณี
๓. มีความพยายาม
๔. ยินดีในการล่วงประเวณีซึ่งกันและกัน

การทำบาปที่ไม่ครบองค์ ๕ ข้อ เช่น ไม่คิดจะฆ่า หรือ ไม่ได้พยายามที่จะฆ่า เช่นการเดินไปเหยียบ มดตาย ก็ถือเป็นบาปเหมือนกัน แต่เป็นบาปที่ไม่ครบองค์ ๕ เป็นบาปกระทำไปโดยการไม่สำรวมอินทรีย์ ทำให้สัตว์อื่นคนอื่น ต้องเสียชีวิตไปเพราะการไม่สำรวมนั้น กรรมนั้นจะตามให้ผล ในปวัตติกาลเช่นกัน




(ข้อพิสูจน์ผลกรรมเก่าที่ทำไว้)
๑. ผลของการฆ่าสัตว์ ๙ ประการ
๑. ร่างกายทุพพลภาพ
๒. รูปร่างขี้เหล่ ไม่งาม
๓. ร่างกายอ่อนแอ
๔. ปัญญาความจำไม่ดี
๕. เป็นคนขลาดหวาดกลัว
๖. การฆ่า
๗. มีโรคภัยเบียดเบียน
๘. ไม่มีบริวาร
๙ อายุสั้น
๒. ผลของการลักทรัพย์ ๖ ประการ
๑. เป็นผู้มีทรัพย์น้อย
๒. ยากจนเข็ญใจ
๓. อดอยากหิวโหย
๔. ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ
๕. ค้าขายขาดทุน
๖. ประสบกับภัยพิบัติ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น ถูกเวนคืน เป็นต้น
๓. ผลของการประพฤติผิดในกาม ๑๑ ประการ
๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีศัตรูปองร้าย
๓. ขัดสนทรัพย์สิน
๔. อดอยากยากจน
๕. เกิดเป็นหญิง
๖. เกิดเป็นกะเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. มักได้รับความอับอายเสมอ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑๐. เป็นผู้คิดมากวิตกกังวล
๑๑. ครอบครัวแตกแยก ไม่ได้อยู่กับคนที่เรารัก

การทำบาปทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ๔ ได้แก่
๑.การพูดเท็จ การพูดที่โกหกหลอกลวง เป็นการพูดที่ไม่ตรงกับความจริง
๒.การพูดส่อเสียด เป็นการพูดยุแหย่ทำให้คนที่เขารักกันเข้าใจผิด โกรธกัน เลิกรักกันไป
๓.การพูดคำหยาบ การด่าทอกัน เป็นการพูดที่ไม่สุภาพ
๔.การพูดเพ้อเจ้อ เป็นการพูดที่ไร้สาระ


๑. การพูดเท็จ
๑. พูดเรื่องที่ไม่จริง
๒. คิดจะพูดเรื่องไม่จริง
๓. พยายามพูดเรื่องไม่จริง
๒. การพูดส่อเสียด
๑. มีผู้ถูกทำให้แตกแยก
๒. คิดที่จะพูดให้เขาแตกแยก
๓. พยายามพูดให้แตกกัน
๓. การพูดคำหยาบ
๑. มีความโกรธ
๒. มีผู้ถูกด่า
๓. พูดด่าหรือแช่ง
๔. การพูดเพ้อเจ้อ
๑. คิดจะพูดในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
๒. พูดออกมาในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์

เมื่อได้ทำบาปทางวาจา คือ การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ตามองค์ประกอบ ข้างต้นนี้ ชื่อว่าเป็นบาปที่มีกำลังแรง เป็นชนกกรรมนำเกิดในอบายภูมิ ๔ แน่นอน


ผลของการพูดเท็จ ๘ ประการ
๑. เกิดมาพูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่เรียบ
๓. มีกลิ่นปาก
๔. มีไอตัวร้อน
๕. ตาส่อน
๖. พูดด้วยปลายลิ้นปลายปาก
๗. บุคลิกไม่ดี
๘. ดูคล้ายคนวิกลจริต
ผลของการพูดส่อเสียด ๔ ประการ
๑. ชอบตำหนิตนเอง
๒. มักเป็นผู้ถูกใส่ความ
๓. ถูกผู้ใหญ่ติเตียนเสมอ
๔. มักแตกแยกกับมิตรสหาย
ผลของการพูดคำหยาบ ๔ ประการ
๑. ทรัพย์สินสูญหาย
๒. ได้ยินแต่เสียงที่ทำให้รำคาญ
๓. มีกายวาจาหยาบ
๔. หลงตาย
ผลของการพูดเพ้อเจ้อ ๔ ประการ
๑. เป็นบุคคลที่ชอบพูดพร่ำ
๒. ไม่มีคนเชื่อถือในคำพูด
๓. เป็นผู้ไม่มีอำนาจ
๔. ทำให้วิกลจริต


๑. อภิชฌา การคิดเพ่งเล็งในทรัพย์สินของคนอื่น อยากที่จะได้มาเป็นของตน เพียงแต่คิดก็เป็นบาปทางใจแล้ว จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องของความนึกคิด

๒. พยาบาท การคิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น เพียงคิดที่จะกระทำ แต่ยังไม่มีโอกาส เพียงเท่านี้ก็เป็นบาป เกิดความเร่าร้อนทางจิตใจ เป็นเหตุให้กระทำบาป ทางกายและวาจาต่อไป

๓. มิจฉาทิฏฐิ การหลงผิดจากความจริง เป็นการเข้าใจที่ผิดแล้ว คิดว่าตนนี้เข้าใจถูก เช่น คนที่เข้าวัด ฟังธรรมถือศีล เจริญภาวนาเป็นคนงมงาย คิดว่าบุญไม่มี บาปไม่มี ตายแล้วก็สูญ บุญบาป ที่ทำไม่ให้ผลอะไรเลย ไม่เชื่อในเรื่องนรก สวรรค์ ฌาน อภิญญา มรรค ผล นิพพาน ชาตินี้ชาติหน้า ไม่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม


อภิชฌา ๑. มีทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นเป้าหมาย
๒. คิดอยากได้ทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน

พยาบาท ๑. มีศัตรูผู้ไม่พอใจเป็นเป้าหมาย
๒. คิดให้เกิดความพินาศแก่ศัตรูผู้ไม่พอใจ

มิจฉาทิฏฐิ ๑. ยึดมั่นในสิ่งที่ผิดคิดว่าถูก
๒. มีความเห็นว่าเป็นจริง

ผู้ทำบาปทางใจเข้ากฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นบาปที่มีกำลังแรง สามารถนำเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้


อภิชฌา ๑. เสื่อมจากทรัพย์สินและคุณความดี
๒. เกิดในตระกูลต่ำ
๓. มักได้รับคำตำหนิติเตียน
๔. ไม่มีโชคลาภ

พยาบาท ๑. มีรูปร่างไม่สวยงาม
๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. มีอายุสั้น
๔. ตายด้วยการถูกฆ่า

มิจฉาทิฏฐิ ๑. อยู่ห่างไกลจากรัศมีของพระธรรม
๒. ปัญญาไม่ดี
๓. เกิดมาเป็นคนป่าคนดอย
๔. เป็นผู้มีฐานะต่ำต้อย

ที่มา
http://www.buddhism-online.org/Section06A_06.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น