อกุศลกรรมบถ ๑0
ความชั่วทางกาย ๓ ประการ
๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่จริงๆ
๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตอยู่
๓. มีจิตหรือเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย
๔. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าสัตว์นั้น ( ความเพียรพยายามเพื่อฆ่าแบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
๔.๑ ทำการฆ่าด้วยตนของตนเอง
๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือใช้วาจาทำการฆ่า
๔.๓ ใช้อาวุธเป็นเครื่องทำการฆ่า
๔.๔ ฆ่าด้วยหลุมพราง ( มีการวางแผนนานาประการเพื่อให้สัตว์นั้นตาย )
๔.๕ สังหารด้วยวิชาคุณ ( พิธีทางไสยศาสตร์ )
๔.๖ สังหารด้วยฤทธิ
๕. สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรนั้น
ผลของ ปาณาติบาต
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ทุพพลภาพ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๖. เป็นคนขลาดหวาดกลัว
๗. ฆ่าตนเอง หรือถูกผู้อื่นฆ่า
๘. โรคภัยเบียดเบียน
๙. ความพินาศของบริวาร
๑0. อายุสั้น
๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
๒. ผู้กระทำการลักทรัพย์ก็รู้โดยชัดแจ้งว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
๓. มีจิตหรือมีเจตนาพยายามที่จะลักทรัพย์นั้นให้ได้
๔. มีความเพียรพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น ( ความเพียรที่จะลักทรัพย์แบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
๔.๑ ทำการลักทรัพย์นั้นด้วยตนของตนเอง
๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นทำการลักทรัพย์นั้น
๔.๓ ทำการลักทรัพย์นั้นโดยใช้อาวุธเป็นเครื่องประกอบ
๔.๔ ทำการลักทรัพย์โดยใช้เครื่องปกปิดไม่ให้จำหน้าตาได้
๔.๕ ทำการลักทรัพย์โดยใช้วิชาคุณ ( ไสยศาสตร์ เช่น สะกดให้เจ้าของทรัพย์หลับ )
๔.๖ ทำการลักทรัพย์ด้วยฤทธิ์เดช ( เช่น ดำดินไปลักทรัพย์ )
๕. ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรที่จะลักทรัพย์นั้น
ผลของ อทินนาทาน
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ด้อยทรัพย์
๒. ยากจนค่นแค้น
๓. มีความอดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า การขาย
๖. ทรัพย์ของตนพินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( ผิดประเวณี ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. วัตถุที่ไม่ควรไป ( ผู้ที่ไม่สมควรเสพตามกฏหมายหรือตามประเพณี )
๒. มีจิตคิดที่จะเสพ
๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ ( กระทำเองด้วยความเพียรเพื่อได้เสพรสกามคุณ )
๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค ( พอใจในการเดินทางที่ผิด )
ผลของ กาเมสุมิจฉาจาร
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนในทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นผู้หญิง
๖. เป็นกะเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑0. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
การดื่มสุรา หมายถึงการเสพของมึนเมา จัดอยู่ในอกุศลกรรมประเภท " กาเมสุมิจฉาจาร "
องค์ประกอบของการดื่มสุรา
๑. สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา
๒. มีเจตนาเพื่อที่จะดื่มหรือเสพหรือกิน
๓. กระทำการดื่ม การเสพ การกิน
๔. สุรานั้นล่วงลำคอลงไปแล้ว
ผลของ การดื่มสุรา หรือการเสพของมึนเมา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอย
ความชั่วทางวาจา ๔ ประการ
๔. มุสาวาท ( พูดโกหก ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง ( วัตถุเทียม )
๒. มีจิตหรือเจตนาที่คิดจะพูดโกหก
๓. ประกอบด้วยความเพียรที่โกหกให้คนเชื่อ ( โดยหลักการที่จะให้คนเชื่อ ๓ ประการ )
๓.๑ พูดมุสาด้วยตนของตนเอง
๓.๒ ให้ผู้อื่นกล่าวคำโกหกแทนตัว
๓.๓ พูดหรือโฆษณาคำโกหกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
๔. ผู้ที่ได้ฟังหรืออ่านลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีความเชื่อตามนั้น
ผลของ มุสาวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่มีระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. พูดด้วยปลายลิ้น หรือปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต
๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีคนหมู่มากหรือน้อยที่ต้องการให้เขามีความแตกแยกซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
๒. มีความปรารถนาหรือเจตนาต้องการให้คนหมู่นั้นแตกแยกกัน
๓. เพียรพยายามที่ให้เขาแตกแยกกัน ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
๓.๑ วจีปโยค คือ กล่าวด้วยวาจาให้เขามีความแตกแยกกัน
๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขาแตกแยกกันโดยไม่ออกเสียง
๔. คนในหมู่คณะนั้นก็ปักใจเชื่อใน " วจีปโยค หรือ กายปโยค " ที่แสดงออกไป
ผลของ ปิสุณาสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ตำหนิตนของตนเอง
๒. แตกมิตรสหาย
๓. มักถูกลือโดยไม่มีความจริง
๔. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีคนอื่นที่จะพึงด่าว่าให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
๒. เหตุที่จะกล่าวให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจนั้น เพราะเหตุว่ามีจิตโกรธเคืองเขา
๓. จึงแสดงคำหยาบหรือแสดงอาการหยาบ เพื่อให้เขาเจ็บช้ำใจ ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
๓.๑ วจีปโยค คือ การกล่าวทางวาจาให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงอาการกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
ผลของ ผรุสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. พินาศในทรัพย์
๒. มีกายวาจาหยาบ
๓. ได้ยินเสียง เกิดความไม่พอใจ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย
๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสารไม่มีประโยชน์ หรือเจตนานั่นเอง
๒. กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้นออกไป
ผลของ สัมผัปปลาปะ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
๒. ไม่มีอำนาจ
๓. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
๔. จิตไม่เที่ยง คือวิกลจริต
ความชั่วทางใจ ๓ ประการ
๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. ทรัพย์หรือของเหล่านั้นเป็นของผู้อื่น
๒. มีความเพ่งเล็งที่จะให้ได้ทรัพย์หรือของเหล่านั้นมาเป็นของตน
ผลของ อภิชฌา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๒. มักได้รับคำติเตียน
๓. ขัดสนในลาภสักการะ
๔. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย
๒. มีจิตหรือเจตนาคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสพความพินาศ
ผลของ พยาบาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีรูปทราม
๒. อายุสั้น
๓. มีโรคภัยเบียดเบียน
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย
๑0. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด
๒. เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์ที่ผิดนั้น
ผลของ มิจฉาทิฏฐิ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีปัญญาทราม
๒. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. ห่างไลกแห่งรัศมีแห่งพระธรรม
ที่มา
http://www.oocities.com/southbeach/Terrace/4587/10bad.htm
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น