ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล
เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งจากศีล 5
ทั้งยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการปูพื้นฐานที่มั่นคงของการปฏิบัติธรรมต่อไป โดยทั่วไปเราจะใช้คำว่าศีล 8 เมื่อสมาทานรักษาในวาระพิเศษหรือรักษาอยู่เป็นประจำและจะใช้คำว่าอุโบสถศีลเมื่อสมาทานรักษาในวันพระ ซึ่งก็ต่างมีข้อต้องรักษาเหมือนกัน
ศีล 8 มีดังนี้จ้า
1. ไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ทรมานสัตว์
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องเพศ แม้แต่กับคู่ครองของตนเอง คืออยู่แบบพรหมจรรย์ (ไม่เหมือนศีล 5 ศีล5 ยังยุ่งเรื่องเพศได้กับคู่ครองของตนเอง)
4. ไม่พูดเท็จ คำหยาบ เพ้อเจ้อ
5. ไม่เสพสุราเมรัย สิ่งเสพติด
6. ไม่กินอาหารหลังเที่ยงวัน ยกเว้นน้ำเปล่า น้ำปานะ เช่นนม โอวัลติน จนกระทั่งรุ่งอรุณของวันใหม่ คือ พอไปยืนตอนเช้า เมื่อไหร่เห็นลายมือของตนเองด้วยแสงอาทิตย์ยามเช้า โดยไม่ต้องอาศัยแสงไฟ ถือว่าเป็นรุ่งอรุณของวันใหม่
7. ไม่ทัดดอกไม้ เครื่องหอม น้ำหอมและดูการละคร ฟ้อนรำ ที่ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ใจไม่สงบ เช่นละครน้ำเน่า แต่ถ้าเป็นข่าวสารความรู้ หรือละครที่ดูแล้วทำให้จิตใจผ่องใส นึกถึงบุญกุศล ก็ดูได้ ไม่ผิดศีล
8. ไม่นอนที่นอนสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลีหนาเกิน 1 คืบ
วัตถุประสงค์ของ ศีล 5 คือทำให้สังคมสงบสุข
แต่ วัตถุประสงค์ของ ศีล 8 คือทำให้ใจสงบระงับ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องเพศ เอื้อต่อการรักษาพรหมจรรย์
โดยศีลข้อ 6-8 จะเป็นการสนับสนุนให้รักษาศีลข้อ3 ได้ง่ายขึ้น จิตใจสงบระงับมากขึ้น โดย
ศีลข้อ 6 จะทำให้เราไม่อิ่มเกินไป จนมีเรี่ยวแรงมากเกินไป พอมีแรงมากก็เป็นไปได้ที่อยากจะไปเที่ยวเตร็ดเตร่ ทำให้จิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องเพศได้ง่าย คือ เป็นการ สำรวมในการกิน
ศีลข้อ 7 จะไม่ทำให้เราฟุ้งซ่านไปในเรื่องกลิ่น เพราะถ้าได้กลิ่นหอมๆ เห็นสิ่งสวยๆ งามๆ ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่สงบได้ คิดคำนึงไปในเรื่องเพศได้ง่าย คือเป็นการ สำรวมทางตา จมูกและหู
ศีลข้อ 8 ถ้านอนที่นอนนุ่มนิ่มจะทำให้เราฟุ้งซ่านคำนึงถึงความนุ่มนิ่มของร่างกายเพศตรงข้ามได้ คือเป็นการ สำรวมทางกาย ทางสัมผัส
คำสมาทานศีล ๘
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
(ว่า ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น)
อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้)
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดพรหมจรรย์ )
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำไม่จริง )
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราและเครื่องดองของเมา อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาทขาดสติ)
วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ-
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม
ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่ง
ด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
(ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ)
วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น